อัพเดทข่าว

กฎหมายแรงงาน ที่ผู้ประกอบการต้องรู้



      กฎหมายแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติ เกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้าง และหน้าที่ของเหล่าบรรดานายจ้าง ที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่าง นายจ้างและลูกจ้างเป็นไปอย่างเหมาะสม เหล่าคนทำงาน จึงควรรับทราบข้อกฎหมายเหล่านี้เอาไว้เพื่อให้ทราบถึงประโยชน์ และสิทธิที่พึงมี รวมถึง ผู้ประกอบการ หรือเหล่านายจ้าง ที่ควรรับรู้ถึงกฎเหล่านี้เอาไว้ เพื่อมีการปฎิบัติตนได้อย่างถูกต้อง

วันนี้เราได้รวบรวมกฎหมายแรงงานขั้นพื้นฐานเอาไว้ชี้แนะให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่ หรือผู้ประกอบการที่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน รวมถึงผู้ที่กำลังจะสมัครงานให้ทราบถึงสิทธิที่พึงมี  จะมีอะไรบ้าง ไปชมกัน

การจัดทำข้อบังคับที่เกี่ยวกับการทำงาน

-วันทำงาน เวลาพัก และช่วงเวลาทำงาน


งานทั่วไป ไม่เกิน 8 ชั่วโมง /วัน หรือตามที่ตกลงกัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ ส่วนงานทั่วไปที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกจ้าง ให้มีเวลาทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง/วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์


-วันหยุด


วันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์
วันหยุดตามประเพณี ไม่น้อยกว่า 13 วัน / ปี
วันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วัน / ปี สำหรับลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี และสามารถตกลงกันในการเลื่อนวันหยุดไปสะสมเพื่อหยุดในปีต่อๆไปได้


-การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด


1.การทำงานปกติ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง / วัน และก่อนการทำล่วงเวลาที่ต่อจากการทำงานปกติ ต้องมีเวลาพักไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
2. การทำงานในวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด รวมแล้วต้องไม่เกิน 36 ชั่วโมง/สัปดาห์


-การจ่ายค่าจ้าง (วัน ละเวลาในการจ่าย)


ค่าจ้าง จำเป็นต้องจ่ายเป็นเงินเท่านั้น โดยไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ค่าจ้างในวันหยุด ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดอื่นๆ มีสิทธิได้รับค่าจ้าง
ค่าจ้างในวันลา จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วย ไม่เกิน 30วัน /ปี , วันลากิจ 3 วัน / ปี , วันลาเพื่อทำหมัน 60 วัน/ ปี วันลาเพื่อรับราชการทหาร 60วัน/ปี และค่าจ้างวันลาคลอดบุตร 45 วัน / ครรภ์

-เกณฑ์การลา


ลาป่วย หากลาป่วยติดกัน 3 วันขึ้นไป จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์ สามารถลาได้ ไม่เกิน 30 วัน/ ปี
ลากิจ สามารถลาได้ไม่เกิน 3 วัน/ ปี
ลาทำหมัน จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์เพื่อการลา
ลารับราชการทหาร ลูกจ้างสามารถลาเพื่อเข้ารับราชการทหารได้
ลาคลอดบุตร หญิงมีครรภ์สามารถลาได้ไม่เกิน 98 วัน โดยนับรวมวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดด้วย
ลาฝึกอบรม ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ โดยการแจ้งนายจ้างให้ทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 7 วัน นายจ้างสามารถไม่อนุมัติให้ลาได้ ถ้าอาจทำให้เกิดความเสียหาย หรือสร้างผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ


-การเลิกจ้าง และค่าชดเชย


1. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้
- ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
-ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
-ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
-ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้ค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
-ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีแต่ไม่ครบ 20 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
-ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน

2. ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงาน หรือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้
-เป็นเหตุให้จำเป็นต้องลดจำนวนลูกจ้างลง จำเป็นต้องแจ้งวัน และสาเหตุในการเลิกจ้าง ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยว่า 60 วัน
-หากไม่ได้แจ้งล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่า 60 วัน จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 60 วัน

3. ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ
- นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนย้าย หากลูกจ้างไม่ประสงค์จะย้ายไปด้วยต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้ลูกจ้าง
-ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน

ข้อยกเว้นที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้
1. ลูกจ้างลาออกเอง
2. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
3. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
4. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
5. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
6. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
7. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
8. กรณีการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้าง ตามกำหนดระยะเวลานั้น ได้แก่งานดังนี้
-การจ้างงานในโครงการ เฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือ การค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
- งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว ที่มีกำหนดงานสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
-งานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง


โดยผู้ประกอบการ หรือนายจ้าง จำเป็นต้องประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกัน 10 คนขึ้นไป และให้มีการแพร่ปิดประกาศข้อบังคับในการทำงานอย่างเปิดเผย ณ สถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อให้ลูกจ้างได้รับทราบข้อมูลอย่างสะดวก

___________________________________________________________________________

ข้อมูลจาก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน


อัพเดตล่าสุดเมื่อ : 17 ตุลาคม 2562
ผู้อัพเดต : petchzst

ติดต่อเรา

ช่วยเหลือ
โทร : 02-216-1545
ติดต่อฝ่ายขาย
โทร : 062-224-4795 (เล็ก)
โทร : 062-224-4897 (ส้ม)
Line : @jobmyway
อีเมล์ : info@jobmyway.com
JobMyWay © สงวนลิขสิทธิ์ทั่วโลก