เชื่อว่าเกิน 99% ของคนทำงาน นั้นต้องมีการเดินทางไปทำงาน และต้องใช้รถใช้ถนน ไม่ว่าจะเป็นผู้โดยสาร หรือผู้ขับขี่ รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันได้มีกฎหมายจราจรออกมาใหม่ ที่มีผลบังคับใช้ในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
1. โดนจับ ไม่โดนยึดใบขับขี่
ข้อนี้ถือได้ว่าเป็นข้อถกเถียงกันมานานพอสมควร สำหรับสิทธิของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่ามีสิทธิยึดใบขับขี่ ผู้ที่ทำผิดกฏจราจรได้หรือไม่ แต่นับตั้งแต่ วันที่ 20 กันยายนนี้ ได้มีพระราชบัญญัติจราจรทางถนนฉบับแก้ไขใหม่ ที่ไม่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจในการยึดใบขับขี่ไว้ได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการเรียกตรวจออกใบสั่ง จำเป็นต้องคืนใบขับขี่ให้กับผู้ขับขี่ทุกครั้ง และผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องพกพาใบขับขี่ตัวจริง แต่สามารถแสดงข้อมูลใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ หรือใบขับขี่ดิจิตัล ผ่านทางแอพพลิเคชั่นของกรมขนส่งทางบก DLT OQ LICENCE ส่วนภาพถ่ายใบขับขี่ ที่มีการถ่ายขึ้นเอง ไม่สามารถนำมาใช้งานได้
2.ตัดคะแนนความประพฤติ
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถยึดใบขับขี่ได้ จึงมีการเปลี่ยนมาเป็นตัดคะแนนความประพฤติเพื่อควบคุมความเรียบร้อยของผู้ขับขี่แทน โดยการตัดแต้มความประพฤตินั้น เป็นวิธีการที่นำมาใช้ทั่วโลก และได้ผลที่ดีเยี่ยมมาแล้ว โดยผู้ขับขี่ทุกคนจะได้คะแนนคนละ 12 แต้มหากทำผิด จะถูกหักคะแนนครั้งละ 1-4 แต้ม แล้วแต่ฐานความผิดที่ได้ทำเอาไว้ เช่น ความผิดต่อตัวเอง อย่างการไม่สวมหมวกนิรภัย ,ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย จะถูกตัดคะแนน 1 แต้ม แต่ถ้าเป็นความผิดที่มีผลกระทบต่อสาธารณะระดับกลาง อย่างการฝ่าไฟแดง ,การขับขี่ย้อนศร จะถูกตัดคะแนน 2 แต้ม แต่ถ้าทำความผิดต่อสาธารณะในระดับร้ายแรง จะถูกตัด 3 แต้ม
ส่วนกรณีเมาแล้วขับ หรือทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ จะถูกตัดคะแนน 3-4 แต้ม เเละเมื่อถูกตัดแต้มจนหมด จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ โทษสูงสุดคือการเพิกถอนใบขับขี่ โดยขณะนี้กำลังดำเเนินการยกร่างรายละเอียด และเตรียมทำประชาพิจารณ์ในเดือนตุลาคมนี้
ส่วนปัญหาที่เกิดจากผู้ที่กระทำความผิดแล้วไม่ยอมชำระค่าปรับตามใบสั่ง ซึ่งมีจำนวนสูงกว่า ร้อยละ80 ปัจจุบันมีมาตรการอายัดทะเบียนรถ โดยการเชื่อมฐานข้อมูลใบสั่ง กับกรมการขนส่งทางบกผ่านระบบพีทีเอ็ม ดำเนินการเเล้วเสร็จกว่า ร้อยละ 99 ผู้ที่ไม่ชำระค่าปรับตามเวลาที่กำหนด เมื่อไปต่อภาษีประจำปี จะยังไมได้รับป้ายภาษี แต่จะได้ใบแทนชั่วคราว และมีเวลา 30 วันในการเสียค่าปรับ โดยจะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย