การทำงาน เท่ากับ ผลงาน เป็นเรื่องที่องค์กรคาดหวังจากตัวเราอยู่แล้ว เพราะทุกวันนี้เรื่องของผลงาน เป็นเรื่องที่องค์กรให้ความสำคัญมาก รวมถึงผลงานนั้นยังเป็นตัวประเมินตัวเราด้วย ยิ่งองค์กรที่เป็นธุรกิจยิ่งต้องสร้างผลงานเพื่อให้ธุรกิจนั้นอยู่รอดต่อไปได้ ทีนี้แหละ ทุกอย่างต้องการผลงาน การแข่งขันเริ่มสูง ธุรกิจก็ต้องยิ่งหาแนวทางใหม่ๆเพื่อความอยู่รอดเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญเลย คือ ผู้บริหารหรือหัวหน้างานที่ต้องทำให้ได้เลยคือ การทำผลงานให้กับองค์กรแต่ละส่วนหน่วยงาน เพื่อให้ธุรกิจนั้นไปรอดและเติบโตต่อไปเรื่อยๆ
แต่อย่าลืมนะ ! การทำธุรกิจนั้นก็เป็นเรื่องที่ยากเหมือนกัน ไหนจะต้องโฟกัสงาน และยังต้องโฟกัสในตัวลูกน้อง ยิ่งถ้าได้ลูกน้องที่เก่งแต่คุณไม่มีสิ่งดีๆให้กับเค้าเลย วันนึงลูกน้องที่เก่งๆก็ต่างพากันลาออก หางานใหม่ สมัครงานใหม่ คุณก็เสียเวลาในการ หาคน หาพนักงานใหม่มาเรียนรู้งาน แต่อย่าลืมว่าคุณเองก็เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือหัวหน้างาน ผู้บริหาร แต่อย่าลืมว่าตำแหน่งงานที่คุณอยู่ก็ไม่สามารถทำงานด้วยตัวคนเดียวเหมือนกัน หากคุณจะประสบความสำเร็จได้นั้นคุณเองก็ต้องมีลูกน้องคนเก่งๆที่เข้ามาทำให้ทีมหรือองค์กรประสบความสำเร็จได้เช่นกัน
ซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่ลูกน้องแต่ละคนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเรื่องของความสามารถในแต่ละด้าน การทำงาน การเรียนรู้ รวมถึง การทำงานเช่นกัน ซึ่งการที่จะให้พนักงานสร้างผลงานที่ดีได้นั้น สำหรับผู้บริหารหรือหัวหน้างานมันจึงเป็นเรื่องที่ยากเป็นสิ่งที่จะต้องทำหน้าที่ในหารบริหารจัดการให้พนักงานมีผลงานที่ดีออกมาได้ การสร้างแนวทางในการทำงานให้พนักงานสร้างผลงานจริงๆก็ไม่มีอะไรเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากนัก วันนี้ Jobmyway มานำเสนอทริคเล็กๆน้อยๆสำหรับมุมของผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร หัวหน้างาน การสร้างบริหารผลงานลูกน้องแต่ละคนแบบไหนกันบ้าง ลองมาอ่านกันดูค่ะ
คุณบริหารผลงานลูกน้องแต่ละคนแบบไหนกันบ้าง ?
• วางแผนผลงาน
เป็นสิ่งแรกที่ควรทำอย่างแรกเลย เพราะการบริหารผลงานของลูกน้อง คือ การวางแผนผลงาน การทำงาน การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายต่างๆร่วมกับลูกน้อง โดยอาจจะกำหนดว่าภายในแต่ละปีนั้นลูกน้องแต่ละคนต้องสร้างผลงานอะไรให้ออกมาบ้าง การตกลงร่วมกันระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องมากกว่า ว่าต่างคนต่างเข้าใจตรงกันหรือไม่ว่า ผลงานที่อยากได้นั้นมันคืออะไรเป็นไปในแนวทางเดียวกันใช่ไหมในการกำหนดผลงานของลูกน้อง
• ทบทวนผลงาน
อธิบาย สอนงาน สร้างแรงจูงใจในการทำงานอยู่เสมอ หลังจากนั้นเมื่อวางแผนงานกันเรียบร้อย ลูกน้องจะรับรู้แล้วว่าตัวเองต้องสร้างผลงานอะไรบ้างเพื่อให้เป็นไปตามเป้าที่กำหนดไว้ หัวหน้างานเองก็คอยทำหน้าที่ในการดูความคืบหน้า ตรวจสอบ สอบถามว่าติดขัดเรื่องไหนหรือไม่ ให้คำแนะนำในการทำงาน หากลูกน้องขาดแรงจูงใจในการทำงาน ก็ทำหน้าที่ในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับลูกน้อง เพื่อให้มีพลังในการสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง
• ประเมินผล
พอถึงช่วงประเมินผล หัวหน้างานกับลูกน้องก็มาคุยพิจารณาผลงานสุดท้ายกันว่า ถึงเป้าหมายที่ตกลงกันหรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คุณเองก็ต้องมาช่วยกันหาทางแก้ไขว่าอะไรที่เป็นสาเหตุ และหาทางแก้ไข เพื่อปรับแผนการทำงานให้ถึงเป้าที่ตกลงกันไว้
นี่เป็นเพียงทริคเล็กๆน้อยๆ พอจะเป็นแนวทางในการบริหารผลงานลูกน้องแต่ละคน หลักๆในการทำก็คือ การวางแผน การปฏิบัติงาน รวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจให้มีกำลังใจในการทำงาน เพื่อที่จะได้ฮึดสู้ ! ไปจนถึงเป้ากมายที่องค์กรกำหนดไว้ บทความนี้ เชื่อว่า ผู้จัดการทุกคนมีศิลปะในการบริหารจัดการลูกน้องของตนแต่ละคนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งในการบริหารจัดการซึ่งไม่เหมือนกันอยู่แล้ว เพราะลูกน้องแต่ละคนก็ไม่มีใครเหมือนกันเลยสักคน