ในการทำงานของทุกคนต่างล้วนต้องเคยเจอลูกค้า เจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงาน ‘คอมเมนต์’ ผลงานของเราเสมอ และหลายครั้งเราเองก็อยู่ในตำแหน่งที่ต้อง ‘คอมเมนต์’ งานคนอื่น รวมถึงการใช้ชีวิตส่วนตัว ไม่มีทางที่เราจะพ้นที่จะต้องมีโอกาสให้ความคิดเห็น เสนอแนะ หรือคอนเมนต์ต่างๆ แต่จะทำยังไงให้คอมเมนต์ ไม่ให้ผิดใจกันมาดูกันค่ะ
1.ใช้เหตุผล อย่าใช้อารมณ์ในการพูด
ความเป็นจริงไม่มีใครชอบถูกตำหนิโดยการใช้อารมณ์ ยิ่งการทำงานบางคนต้องทุ่มเทกับการปิดโปรเจกต์งานเหน็ดเหนื่อยกับงานชิ้นนั้น ควรเลี่ยงคำพูดประเภทที่ทำร้ายจิตใจ ลองปรับเป็นคอมเมนต์ในลักษณะเชิงชี้แจง แนะนำหรือให้แนวทางในงานชิ้นนั้น จะเป็นการกระตุ้นให้อยากแก้ไขเพื่อให้งานออกมาดีที่สุดได้
2.ทำได้จริง
การพรีเซ้นต์งานหรืออะไรก็แล้วแต่ไม่ควรพูดเกินความจริงรวมไปถึงการสัมภาษณ์งานด้วย เพราะยิ่งตอนเราสัมภาษณ์กับแผนก HR และ หัวงานแล้วต้องทำได้จริง อย่าพูดโอ้อวดหรือโม้เกินไป หรือกล่าวอ้างข้อมูลต่างๆ เช่น เห็นข้อมูลประกาศงาน
สมัครงาน หาคนหาพนักงาน เฉพาะตำแหน่งนี้ซึ่ง เราเองมีความสามารถที่จะทำได้ทั้งหมดจนดูไม่น่าเชื่อถือยิ่งจะทำให้คุณหางานบ่อยได้
3.การยกตัวอย่าง เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น
เป็นหนึ่งวิธีที่ทำให้การสื่อสารประสานงานเข้าใจงานง่ายขึ้นและทำให้คนที่ประสานงานด้วยหรือผู้ฟังการบรรยายทำให้เห็นภาพเข้าใจงานชิ้นนั้นมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่างภาพประกอบ คอนเทนต์อ้างอิง ฯลฯ จะเป็นส่วนที่ช่วยให้ภาพความคิดชัดเจนมากขึ้นในการทำงาน ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของชิ้นงาน
4.คอมเมนต์ ไม่สั้นเกินไป ไม่ยาวเกินไป
การคอมเมนต์ที่สั้นเกินไป หรือ ยาวเกินไป จะยิ่งทำให้การหางานหรือข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการทำงานเสียเวลามากขึ้นเพราะเกิดจากการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน เกิดการสับสนในการทำงาน ควรคอมเมนต์ต้องให้ความคิดเห็นที่พอเหมาะ อะไรที่จำเป็น และ อะไรที่ไม่จำเป็น บางครั้งการที่คอมเมนต์ไม่เข้าใจจะยิ่งทำให้งานยุ่งยาก และ น่าเบื่อแทนสำหรับผู้รับฟังคอมเมนต์
การคอมเมนต์เหมือนแนวทางให้ผู้ทำงานสามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ไขการทำงานต่อได้ และทั้งนี้ความคิดสร้างสรรค์และชิ้นงานจะมีประสิทธิภาพที่สุดก็ต่อเมื่อตอบโจทย์ ตรงจุดประสงค์สิ่งที่เราคอมเมนต์ได้มากที่สุดมองถึงความสำเร็จของงานคืออะไร ผลงานที่ออกมาเป็นอย่างไร และ ผลงานที่ออกมาสำเร็จหรือไม่?