อัพเดทข่าว

5 ข้อที่ห้ามทำ ถ้าไม่อยากถูกลูกจ้างฟ้อง



      ผู้ประกอบการทุกท่านคงจะทราบกันดีว่า คนทำงาน หรือลูกจ้างทุกคนนั้นมีกฏหมายแรงงานคุ้มครองอยู่ โดยผู้ประกอบการบางรายอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเข้าใจข้อกฏหมายนั้นๆผิดไป อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่อตัวคนทำงาน และอาจนำไปสู่การฟ้องร้องของศาลแรงงาน ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการต้องเสียทั้งเวลาในการเดินทางเพื่อไปพิจารณาคดี, เสียประวัติองค์กร และเสียเงินค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้าง โดยเราได้นำ 5 ข้อที่ผู้ประกอบการไม่ควรทำ ถ้าไม่อยากถูกลูกจ้างฟ้อง มาฝากกัน

1.ไม่ส่งประกันสังคม หรือส่งไม่ครบ


ประกันสังคม ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน หรือสิทธิพึงมี ที่พนักงานประจำทุกคนต้องมีเอาไว้ โดยนายจ้างที่มีผู้สมัครงาน ที่สมัครเป็นลูกจ้างประจำตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จำเป็นต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมให้ในทุกเดือน หากนายจ้างไม่ส่งเงินสมทบประกันสังคม หรือหักเงินสมทบออกจากเงินเดือนของลูกจ้างไปแล้วแต่ไม่นำส่ง จะถือเป็นความผิด และต้องโทษปรับ หรือในกรณีรุนแรงสามารถถูกฟ้องล้มละลายได้

2.ไล่ออกโดยไม่มีความผิด


การเลิกจ้าง หรือไล่พนักงานออกโดยไม่มีความผิด และไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน นายจ้างจำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยในการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชยในการเลิกจ้าง ตามระยะเวลาในการทำงานของลูกจ้าง ดังนี้
-ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
-ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
-ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
-ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
-ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
รวมถึงลูกจ้าง สามารถเรียกร้องค่าชดเชยจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้อีก ตามความเหมาะสม ฉะนั้น ผู้ประกอบการควรศึกษาข้อกฏหมายนี้ให้ดี

3.ไม่จ่ายค่าแรง หรือจ่ายค่าแรงไม่เป็นธรรม


กรณีที่นายจ้างไม่ได้จ่ายค่าแรง หรือการจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าค่าแรงต่ำ เช่นการไม่จ่ายค่าล่วงเวลา และค่าจ้างในวันหยุด ถือเป็นความผิด ที่อาจนำไปสู่การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย โดยนายจ้างอาจต้องเสียค่าดอกเบี้ยให้กับลูกจ้าง อาจถึงขั้นต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

4.หักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ไม่ออกหนังสือรับรอง


ลูกจ้างประจำ ที่กำลังอยู่ในช่วงทดลองงาน และยังไม่ได้เซ็นสัญญาจ้าง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่อาจจะทำการหักภาษี ณ ที่จ่่าย 3% ไว้ทุกๆสิ้นเดือน หากทำการหักไว้ และไม่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับพนักงาน ก็มีสิทธิถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายได้

5.กดดันลูกจ้างให้เขียนใบลาออก


นายจ้างที่คิดว่า การกดดัน หรือบีบบังคับให้พนักงานเขียนใบลาออกเอง จะไม่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง แต่อันที่จริงแล้ว การบีบบังคับให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกนั้น เท่ากับการเลิกจ้างลูกจ้าง โดยลูกจ้างสามารถนำเรื่องไปฟ้องต่อศาลแรงงานได้เช่นกัน

อัพเดตล่าสุดเมื่อ : 03 มกราคม 2563
ผู้อัพเดต : petchzst

ติดต่อเรา

ช่วยเหลือ
โทร : 02-216-1545
ติดต่อฝ่ายขาย
โทร : 062-224-4897 (ส้ม)
โทร : 062-224-4795 (เล็ก)
Line : @jobmyway
อีเมล์ : info@jobmyway.com
JobMyWay © สงวนลิขสิทธิ์ทั่วโลก