อัพเดทข่าว

ทำอย่างไรเมื่อเจอพนักงานสายอู้



      ถ้าพูดถึงพนักงานที่เก่ง มีความขยันขันแข็ง และอดทน เชื่อว่าผู้ประกอบการทุกคนต้องพึงพอใจกับคุณภาพการทำงานของคนเหล่านั้น แต่จะมีคนอีกจำพวกหนึ่ง ที่เรียกได้ว่า สร้างความปวดหัว และสร้างความยุ่งยากให้กับองค์กรเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ พนักงานสายอู้ ที่มักมีให้เห็นกันอยู่ตลอด แล้วควรมีวิธีจัดการคนเหล่านั้นอย่างไร? รวมถึงคนที่กำลังจะสมัครงาน ว่าควรหรือไม่ควรปฏิบัติตัวอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบให้คุณ

1.วางหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน


หาก ผู้ประกอบการ อยากเห็นผลงานที่ชัดเจนของ คนทำงาน ควรจัดวางหน้าที่ในการทำงานแก่พนักงานอย่างชัดเจน ว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการจากพนักงานนั้นมีหน้าที่อะไรบ้าง เพื่อความเข้าใจตรงกัน ในกรณีที่มีพนักงานจำนวนมาก การวางหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถประเมิณผลงานของแต่ละคนได้ง่ายกว่าการทำงานแบบจับฉ่าย

2.จัดทำตารางการทำงาน


ตารางในการทำงานถือเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการ สามารถมองเห็นปริมาณของชิ้นงาน และความยากง่ายของชิ้นงานได้สะดวกยิ่งขึ้น อาจให้พนักงานจัดทำตารางในการทำงานในแต่ละวัน เพื่อบันทึกสิ่งต่างๆที่พนักงานทำเอาไว้ใช้ในการตรวจสอบ

3.ประเมินผลงานทุกๆอาทิตย์


หลังจากพนักงานได้จัดทำตารางการทำงานเอาไว้แล้ว ผู้ประกอบการสามารถนำตารางเหล่านั้นมาประเมินผลงาน และความสามารถของพนักงานคนนั้นๆได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยตารางเหล่านี้จะส่งผลกับการปรับเงินเดือน ,เงินโบนัสต่างๆ และสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ใครทำงาน หรือไม่ได้ทำงานอะไร

4.ตั้งกฏในการทำงานให้ครอบคลุม


กฏในการทำงาน ในบางบริษัทอาจคิดว่าไม่จำเป็น แต่จริงๆแล้วกฏนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก สำหรับคนทำงาน แต่ในบริษัทที่มีกฏระเบียบเข้มงวดมากเกินไป อาจทำให้พนักงานไม่มีความสุขในการทำงาน แต่บริษัทที่หย่อนในกฏระเบียบมากเกินไป จะส่งผลให้พนักงานไม่มีแรงผลักในการทำงานเท่าที่ควร ฉะนั้นจึงควรมีกฏระเบียบไว้เพื่อความเรียบร้อยในการทำงาน เช่น ส่งรีพอร์ตการทำงานทุกวัน หากทำงานเสร็จแล้วสามารถพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย เป็นต้น

5.ทำการตักเตือน หรือออกใบเตือน


หากพนักงานของคุณไม่ทำตามกฏระเบียบที่วางไว้ ก็ควรมีมาตรการในการจัดการอย่างเด็ดขาด เช่น มาทำงานสาย,ขาดงานบ่อย ,ทำงานได้ไม่ตรงเป้า ต้องมีการออกใบเตือน หรือมีการทำการตักเตือน จนไปถึงการหักเงิน และการไม่ให้เงินโบนัสประจำปี เป็นต้น

6.ตั้งเบี้ยขยันเพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจ


การที่พนักงานรู้สึกว่าไม่มีสิ่งใดกระตุ้นจิตใจ หรืออยู่ในช่วงที่งานหนัก จึงทำให้ไม่มีขวัญกำลังใจในการทำงาน อาจมีการตั้งเบี้ยขยันขึ้นมาเพื่อเรียกขวัญกำลังใจให้พนักงานกลับมามีแรงในการทำงานอีกครั้ง เช่น เงินโบนัสประจำปีหากทำงานได้ตามเป้า , เงินเบี้ยขยันหากไม่ขาดงาน เป็นต้น

อัพเดตล่าสุดเมื่อ : 07 กันยายน 2565
ผู้อัพเดต : petchzst

ติดต่อเรา

ช่วยเหลือ
โทร : 02-216-1545
ติดต่อฝ่ายขาย
โทร : 062-224-4897 (ส้ม)
โทร : 062-224-4795 (เล็ก)
Line : @jobmyway
อีเมล์ : info@jobmyway.com
JobMyWay © สงวนลิขสิทธิ์ทั่วโลก